ติวสอบเข้า KOSEN KMUTT    เรียนพิเศษ
 
คณิตศาสตร์      ฟิสิกส์       ภาษาอังกฤษ
แคลคูลัส
ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
O-Net    A-level    TGAT    TPAT    TPAT3    TCAS67
 

เปิดสอน   ระดับชั้นประถมศึกษา    มัธยมต้น    มัธยมปลาย
และระดับมหาวิทยาลัย


เพื่อการสอบเพิ่มเกรดประจำภาคเรียน
สอบเข้า ม.1     สอบเข้า ม.4
สอบ Admission     และสอบตรงเข้ามหาวิทยาลัย


"เน้นเรียนตัวต่อตัว    และกลุ่มย่อย 4 คน"

สำหรับนักเรียนที่มุ่งมั่นเข้าศึกษาต่อ KOSEN KMUTT
 
 
โคเซ็น (ญี่ปุ่น: 高専、こうせん、KOSEN) หรือแบบเต็มเรียกว่า โคโตเซ็นมองกักโค (ญี่ปุ่น: 高等専門学校こうとうせんもんがっこう、kōtō-senmon-gakkō、อังกฤษ: National Institute of Technology, แปลไทย: สถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติ) เป็นสถาบันทางการศึกษาขั้นสูงรูปแบบหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ที่มุ่งฝึกอบรมวิศวกรเชิงปฏิบัติและวิศวกรที่มีความคิดในการสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ มีสถาบันระดับชาติ ท้องถิ่นและภาคเอกชนทั้งสิ้น 57 แห่งในญี่ปุ่น มีนักศึกษาประมาณ 60,000 คน โดยรวมอีกประมาณ 3,000 คนในหลักสูตรขั้นสูงแล้ว ในความเป็นจริงแล้ว โคเซ็นไม่ได้มีเพียงเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น ยังมีในประเทศมองโกเลีย ไทย และเวียดนาม โดยมีการปรับเปลี่ยนภายใต้วัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ  โคเซ็นในประเทศญี่ปุ่น โคเซ็นในประเทศญี่ปุ่นถูกก่อตั้งขึ้นมาในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ทศวรรษ 1950 จากการที่ในช่วงเวลานั้นมีความต้องการวิศวกรในการพัฒนาประเทศเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการเหล่านี้ ในปี ค.ศ. 1962 รัฐบาลจึงได้ก่อตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งชาติ (โคเซ็น) ขึ้นมาทั้งสิ้น 12 แห่ง ดังนี้ ฮาโกดาเตะ, อาซาฮิกาวะ, ฟุกุชิมะ, กุมมะ, นางาโอกะ, นุมะซุ, ซูซูกะ, อะกะชิ, อุเบะ, ทากามัตสึ, นิอิฮามะ และ ซาเซโบะ โคเซ็นนั้นแตกต่างจากมหาวิทยาลัยแบบปกติตรงที่ โคเซ็นนั้นรับนักศึกษาที่จบจากชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและให้การศึกษาเป็นเวลา 5 ปี (ห้าปีครึ่งสำหรับวิทยาลัยเทคโนโลยีสำหรับการค้าทางทะเล (商船高専)) และตามด้วยการศึกษาเฉพาะทางสองปี โคเซ็นมุ่งเป้าไปที่การให้การศึกษาที่หลากหลาย รวมถึงให้การศึกษาวิชาทั่วไปอย่างสมดุล เช่น วิชาคณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น ตลอดจนวิชาเฉพาะทาง การศึกษาเฉพาะทางเน้นการทดลองและการฝึกในเชิงปฏิบัติ และออกแบบมาเพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และทักษะเฉพาะทางที่เกือบเทียบเท่าระดับมหาวิทยาลัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การวิจัยเพื่อสำเร็จการศึกษาได้รับการออกแบบเพื่อปลูกฝังทักษะประยุกต์เพื่อให้นักศึกษาสามารถเป็นวิศวกรที่พึ่งพาตนเองได้ และได้มีการผลิตงานวิจัยระดับสูงที่สามารถนำไปนำเสนอในงานประชุมวิชาการ นักศึกษาที่จบการศึกษา 5 ปีแล้วนั้น ร้อยละ 60 เลือกที่เข้ารับการทำงานทันทีหลังจากเรียนจบ ส่วนอีกร้อยละ 40 เลือกที่จะเข้ารับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ไม่ว่าทั้ง หลักสูตรขั้นสูง 2 ปี หรือ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อรับการศึกษาต่อในชั้นปริญญาตรี โคเซ็นในต่างประเทศ ประเทศไทย โคเซ็นในประเทศไทย เริ่มต้นมาจากการร่วมมือทางด้านการศึกษา การให้คำแนะนำ และหลักสูตรตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ส่วนทางด้านกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยได้มีการร่วมมือในการส่งนักเรียนไปศึกษาที่โคเซ็นประเทศญี่ปุ่นมาก่อนหน้านี้แล้ว จนกระทั่งในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561 คณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านอุตสาหกรรม ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (KOSEN) ต่อมาในวันที่ 23 สิงหาคม นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ โดยมีรัฐมนตรีช่วยกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี แห่งประเทศญี่ปุ่น ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในการปรับเปลี่ยนรายละเอียดโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาคโดยให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ แต่ก็ได้ถ่ายโอนไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในภายหลัง ในประเทศไทยมีการจัดตั้งทั้งสิ้น 2 วิทยาเขต คือ สถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เป็นที่แรก และ สถาบันโคเซ็นแห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นแห่งที่สอง โดยรัฐบาลไทยมีความหวังในการผลิตวิศวกรนักปฏิบัติ นักเทคโนโลยี และนวัตกร กลับมาทำงานที่เขต EEC โดยมีระยะดำเนินการ 13 ปี ทางองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ได้ให้ความช่วยเหลือผ่าน Yen Loan สำหรับให้ทุนการศึกษาเพื่อศึกษาต่อที่ KOSEN ประเทศญี่ปุ่น และสำหรับการฝึกอบรมอาจารย์และผู้บริหารไทยโคเซ็นในประเทศญี่ปุ่น ส่วนเรื่องหลักสูตรนั้น ทั้ง 2 สถาบันมีหลักสูตรที่แตกต่างกัน แต่เป็นหลักสูตรอนุปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ทั้งหมด ยกเว้นหลักสูตรวิศวกรรมการผลิตของ KOSEN-KMITL ที่เป็นหลักสูตรปริญญาวิศวกรรมศาสตร์ โดยทาง KOSEN-KMITL มีทั้งสิ้น 4 หลักสูตร คือ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Engineering), วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์ (Mechatronics Engineering), วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Electrical and Electronics Engineering) และ วิศวกรรมการผลิต (Production Engineering) ส่วน KOSEN-KMUTT มีทั้งสิ้น 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิศวกรรมอัตโนมัติ (Automation Engineering) หลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ (Bio Engineering)  และหลักสูตรวิศวกรรมเกษตร (Agri Engineering) ไทยโคเซ็นมีความใกล้เคียงกับโคเซ็นของญี่ปุ่นคือ การเรียนที่เรียนทั้งสิ้น 5 ปี และมีหลักสูตรขั้นสูง (Advance Course) ให้เรียนอีก 2 ปี อย่างไรก็ตามหลักสูตรของทั้ง 2 วิทยาเขตก็ไม่ได้ยกจากของญี่ปุ่นมาทั้งหมด เนื่องจากมีการปรับปรุงให้เข้ากับหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายและกฎหมายในประเทศไทย ทำให้มีบางวิชาที่เพิ่มเข้ามาจากหลักสูตรของโคเซ็นญี่ปุ่น เช่น วิชานักศึกษาวิชาทหาร เป็นต้น และบางวิชาที่หลักสูตรมัธยมปลายทั่วไปไม่มี เช่น วิชาเขียนแบบวิศวกรรม วิชาภาษาญี่ปุ่น วิชาเวิร์คชอพ เป็นต้น ทุนการศึกษาในหลักสูตรโคเซ็นสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้ ประเภทที่ 1 ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยไปศึกษา ณ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น ในชั้นปีที่ 1 ถึง 7 เพื่อกลับมาเป็นครู ณ สถาบันไทยโคเซ็น รุ่นละ 12 คน จำนวน 6 รุ่น ประเภทที่ 2 ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาสถาบันไทยโคเซ็นในชั้นปีที่ 1 ถึง 2 จากนั้นไปศึกษาต่อ ณ สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่นในชั้นปีที่ 3 ถึง 5 จำนวน 180 คน ประเภทที่ 3 ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาสถาบันไทยโคเซ็นตลอดทั้งหลักสูตร จำนวน 900 คน โดยจะได้รับทุนไปแลกเปลี่ยนที่สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น 1 ภาคการศึกษาในชั้นปีที่ 4 (อย่างไรก็ตาม ทั้งสองสถาบันจัดการแลกเปลี่ยนไว้เพียง 1 เดือน) ประเภทที่ 4 นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตร 5 ปี ทั้งจากประเภทที่ 2 และ 3 จำนวน 328 คนจะได้รับทุนศึกษาต่อในระดับ Advance Course (เทียบเท่าปริญญาตรี) อีก 2 ปี และได้รับทุนไปแลกเปลี่ยน ที่สถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น ครั้งละ 1 ภาคการศึกษา รวม 2 ครั้ง ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 อนุมัติ "โครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค" จัดตั้ง 2 สถาบันไทยโคเซ็น คือ KOSEN-KMITL และ KOSEN-KMUTT โดย KOSEN-KMUTT เป็นสถาบันไทยโคเซนแห่งที่ 2 ของประเทศไทย โดยมีหลักสูตรการเรียนที่เน้นการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ สร้างสรรค์ และทักษะวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านแนวคิด Story-based learning โดยหลักสูตรที่นำสอนมิใช่การยกหลักสูตรของประเทศญี่ปุ่นมาทั้งหมด แต่เป็นการนำมาปรับเพื่อให้เข้ากับวิถีชีวิตของนักศึกษาไทยและเพื่อให้นักศึกษาสามารถทำงานและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมของประเทศได้ เริ่มเปิดทำการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 ในหลักสูตรวิศวกรรมอัตโนมัติ (Automation Engineering) ส่วนหลักสูตรวิศวกรรมชีวภาพ (Bio Engineering) เริ่มทำการสอนในปีการศึกษา 2565 และหลักสูตรวิศวกรรมเกษตร (Agri Engineering) จะเปิดต่อมาในปีการศึกษา 2567 โดยมีคณะอาจารย์จากประเทศญี่ปุ่นร่วมทำการสอน ดังนั้นการเรียนในบางรายวิชาจึงเรียนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก การเรียนนั้นจะไม่แยกรายวิชาตามหลักกระทรวงศึกษาธิการเช่นเดียวกับโครงการวมว. รวมถึงมีหลักสูตรทางวิศวกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากสถาบันโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น นั่นรวมถึงมีการสอนภาษาญี่ปุ่นให้กับนักศึกษาด้วย

สถาบัน KOSEN KMUTT ได้จัดทำหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์ 5 ปี ซึ่งเทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี รวมกับอนุปริญญา 2 ปี ซึ่งเมื่อนักเรียนจบการศึกษาในระยะเวลา 5 ปี นักเรียนจะได้รับวุฒิอนุปริญญา อย่างไรก็ตาม นักเรียนสามารถเข้าศึกษาในวิชาขั้นสูง (Advanced Courses) เป็นเวลาอีก 2 ปี ซึ่งเมื่อสำเร็จการศึกษา 7 ปี จะมีคุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี โดย บัณฑิตจะเป็นผู้ที่มีพื้นฐานคณิตศาสตร์ที่เข้มแข็ง มีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาและความคิดเป็นเหตุเป็นผล สามารถ สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีพื้นความรู้เชิงเทคนิคและทักษะอุตสาหกรรม มีความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงนวัตกรรม มีทักษะการบริหารจัดการ มีภาวะผู้นำและความสามารถในการสร้างทีม รวมถึงมีวินัยและความทะเยอทะยานในหน้าที่การงาน พร้อมทั้งพัฒนาตนเพื่อเสริมความ เข้มแข็ง รองรับการวิจัยและพัฒนาจากโจทย์วิจัยของภาคอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศต่อไป ประวัติโครงการ  ด้วยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจด้านการพัฒนากำลังคนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโยโลยีของประเทศไทย เล็งเห็นว่ากลไกการพัฒนาอัจฉริยะภาพทางวิทยาศาสตร์ในระดับเยาวชนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอต่อการสร้างฐานกำลังคนทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับเป็นมวลวิกฤต (Critical mass) ดังนั้นจำเป็นต้องมีกลไกในการสนับสนุนเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการที่เอื้อต่อการสร้างกำลังคน โดยถือเป็นการดำเนินการร่วมกันของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงศึกษาธิการ ในการจัดทำโครงการ วมว.เพื่อรองรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในการพัฒนาเป็นนักวิจัยศักยภาพใหม่ให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไปในอนาคตโดยคัดสรรนักเรียนที่มีศักยภาพสูงทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมให้เป็นนักวิจัยหรือผู้มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพอันจะเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต   โครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (โครงการ วมว.) เป็นโครงการนำร่องเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยในระยะแรกมีมหาวิทยาลัยและโรงเรียนเข้าร่วมโครงการจำนวน 4 คู่ กระจายอยู่ตามภาคต่างๆ ทั่วประเทศ ในการกำหนดมหาวิทยาลัยนำร่องข้างต้น ได้พิจารณาถึงศักยภาพและความพร้อมอื่นประกอบที่เป็นจุดเด่นสำคัญของมหาวิทยาลัย สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นมหาวิทยาลัยที่มีแนวทางในการพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในด้านทฤษฏีที่เข้มแข็ง มีความสามารถในการออกแบบ และสร้างสิ่งประดิษฐ์ได้จริง และเป็นมหาวิทยาลัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความคล่องตัวในการผสมผสานในด้านการเรียนการสอน และการทำวิจัยที่มีลักษณะเป็น สหวิชาการ (Multi-disciplinary) ปีแรกของการดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน กำหนดให้มีห้องเรียนวิทยาศาสตร์ / โรงเรียน โดยมีจำนวนนักเรียนต่อห้อง 30 คน ซึ่งแผนดำเนินการในระยะแรกเพื่อรับนักเรียน 5 รุ่น ระยะเวลา 7 ปี (ปี 2551-2557) และในเดือนมิถุนายน 2555 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้ดำเนินการต่อในระยะที่สองอีกเป็นระยะเวลา 10 ปี ปัจจุบันมีคู่มหาวิทยาลัย-โรงเรียนจำนวน 11 แห่งที่เข้าร่วมโครงการ ในปัจจุบันโครงการในระยะที่ 2 ที่เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2556 โครงการ วมว. ดรุณสิกขาลัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีนั้นอยู่ภายใต้การดูแลของสำนักงานห้องเรียนวิศว์-วิทย์ สถาบันการเรียนรู้ โครงการนี้อาศัยความร่วมมือจากคณะและหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยที่ช่วยสนับสนุนทั้งทางด้านบุคลากรและอุปกรณ์สถานที่ในการเรียนการสอนโครงการ วมว. ยึดแนวคิดเดียวกันกับโรงเรียนดรุณสิกขาลัยในการให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติวัตถุประสงค์หลักสูตร 1. จัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาในช่วงชั้นที่ 4-6 สำหรับนักเรียน ผู้มีความสามารถพิเศษ     ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการประดิษฐ์คิดค้น ให้พร้อมสำหรับการศึกษาต่อในหลักสูตร KOSEN KMUTT ในระดับอนุปริญญาต่อไป 2. พัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติ วิธีการคิดเชิงตรรกะ วิธีการคิดทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ มีคุณลักษณะอันเป็นพื้นฐานของนักคิด นักประดิษฐ์ มีความคิดสร้างสรรค์ และมีทักษะการสร้างสรรค์ชิ้นงาน 3. จัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เปิดพื้นที่การเรียนรู้และโอบรับความผิดพลาด (Embrace Failure) เพื่อให้นักเรียนกล้าที่จะแสดงออก ทั้งทางความคิด การสร้างสรรค์ชิ้นงาน และเรียนรู้ที่จะเติบโตเป็นผู้มีสำนึกพลเมืองและจริยธรรมอันดีงาม   ปรัชญาหลักสูตร   ปรัชญาหลักสูตรตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดที่ว่า “สังคมวัฒนธรรมผลักดันพัฒนาการทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี ขณะที่วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี ก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม” ดังนั้นหลักสูตรนี้จึงเน้นการ บูรณาการ ระหว่างศาสตร์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และสังคมศึกษา ภายใต้การสอนแบบ Story Based Learning ซึ่งเป็นการร้อยเรียงเรื่องราวเพื่อการเรียนรู้ รวมทั้งพัฒนาองค์ความรู้ทางด้าน วิศวกรรมศาสตร์ เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าใจ เชื่อมโยง และประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะที่ได้รับการพัฒนามาใช้ในการวิเคราะห์ ออกแบบ และแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งในเชิงวิศวกรรมศาสตร์และในชีวิตประจำวัน โครงการ วมว.สำนักงานห้องเรียนวิศว์-วิทย์ สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ (สรบ.) มจธ. บางขุนเทียน 49 ซ.เทียนทะเล 25 ถ.บางขุนเทียน-ชายทะเล แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ : (+66)0-2-470-8389, (+66)0-2-470-8386
facebook: KOSEN.KMUTT เมื่อถึงชั้นปีที่ 2 หรือ เทียบเท่ามัธยมศึกษาปีที่ 5 นักศึกษามีสิทธิที่จะเข้ารับการทดสอบทั้งสิ้น 3 ขั้นตอนเพื่อเข้าศึกษาต่อโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น เริ่มจากการสอบคัดเลือกนักศึกษาให้เหลือ 4 คนต่อหนึ่งห้อง ต่อมาเป็นการทำข้อสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นเทียบเท่าระดับ N3 และการสอบสัมภาษณ์จากโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่นเป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยจำนวนที่ผ่านการคัดเลือกทั้งการสอบและการสัมภาษณ์นั้นจะขึ้นอยู่กับปีนั้น ๆ นั่นรวมถึงโอกาสที่จะไม่มีคนผ่านย่อมที่จะเกิดขึ้นได้   โรงเรียนกวดวิชาเข้า  KOSEN KMUTT  ติวเตอร์เข้า KOSEN KMUTT  ติวเข้า  KOSEN KMUTT แนวข้อสอบเข้า ม.1 KOSEN KMUTT   แนวข้อสอบเข้า ม.4 KOSEN KMUTT  เก็งข้อสอบเข้า ม.1 KOSEN KMUTT   เก็งข้อสอบเข้า ม.4 KOSEN KMUTT  โรงเรียนกวดวิชาเข้า  KOSEN KMUTT  ติวเตอร์เข้า KOSEN KMUTT  ติวเข้า  KOSEN KMUTT แนว
 สอนพิเศษตัวต่อตัว เรียนพิเศษตัวต่อตัว เรียนพิเศษกลุ่มย่อย สอนพิเศษกลุ่มย่อย วิชาคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ความถนัดทางวิศวกรรม รับรองผล เรียนเพิ่มเกรด ติวเพิ่มเกรด  o-net  ติวสอบเข้า ม.1 ติวสอบเข้า ม.4  onsite เรียนออนไซต์  กวดวิชา ติว ครูคณิต กวดวิชา ติว ครูเลข ครูวิทย์ ครูฟิสิกส์ ครูอังกฤษ กวดวิชา ติว  tutor วิทย์ ติวเตอร์ อาจารย์คณิต อาจารย์เลข อาจารย์วิทย์ อาจารย์ฟิสิกส์ อาจารย์อังกฤษ onsite เรียนออนไซต์ เรียนพิเศษใกล้ฉัน  onsite เรียนออนไซต์  เรียนพิเศษเลขกับติวเตอร์คนไหนดี? เรียนพิเศษคณิตศาสตร์กับติวเตอร์คนไหนดี? เรียนพิเศษฟิสิกส์กับติวเตอร์คนไหนดี? เรียนพิเศษวิทย์กับติวเตอร์คนไหนดี? วิทย์ เรียนพิเศษใกล้ฉัน เรียนพิเศษภาษาอังกฤษกับติวเตอร์คนไหนดี?  เรียนพิเศษที่ไหนดี? เรียนพิเศษคณิตศาสตร์ที่ไหนดี? เรียนพิเศษเลขที่ไหนดี? เรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ที่ไหนดี? เรียนพิเศษฟิสิกส์ที่ไหนดี? เรียนพิเศษภาษาอังกฤษที่ไหนดี?  เรียนพิเศษวิทยาศาสตร์กับติวเตอร์คนไหนดี?  ติวเตอร์ tutor โรงเรียนกวดวิชา Quota โควตา TGAT TPAT Admission วิชาสามัญ GPAX GPA TPAT3 A-level คณิตศาสตร์ประยุกต์1 A-level คณิตศาสตร์ประยุกต์2  A-level วิทยาศาสตร์ประยุกต์ ติวเตอร์  A-level ฟิสิกส์ ภาษาอังกฤษ  TGAT TPAT A-level Mathematics Physics Engineering Science TCAS dek66 dek67 dek68 TCAS66 TCAS67 TCAS68 pat1 pat2 pat3 gat ครูสอนพิเศษ อาจารย์สอนพิเศษ  ติวเตอร์ tutor  โรงเรียนกวดวิชา Quota โควตา TGAT TPAT Admission วิชาสามัญ GPAX GPA TPAT3 A-level คณิตศาสตร์ประยุกต์1 A-level คณิตศาสตร์ประยุกต์2  A-level วิทยาศาสตร์ประยุกต์   ติวสอบเข้า KOSEN KMUTT  เรียนพิเศษเข้า KOSEN KMUTT  สอนพิเศษเข้า KOSEN KMUTT   กวดวิชาเข้า KOSEN KMUTT  โรงเรียนกวดวิชาเข้า  KOSEN KMUTT  ติวเตอร์เข้า KOSEN KMUTT  ติวเข้า  KOSEN KMUTT แนวข้อสอบเข้า ม.1 KOSEN KMUTT   แนวข้อสอบเข้า ม.4 KOSEN KMUTT  เก็งข้อสอบเข้า ม.1 KOSEN KMUTT   เก็งข้อสอบเข้า ม.4 
image
 Guaranteed Results.
รับรองผลทุกคอร์ส
นักเรียนที่เรียนจบหลักสูตรจากบ้านครูตี๋  กว่า  90%  มีผลการเรียนดีขึ้น
และสามารถสอบเข้าโรงเรียนรัฐบาล  และมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐได้
จากศิษย์เก่าบ้านครูตี๋กว่า 3,000 คน   ตลอดระยะเวลา 25 ปี 
image
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้